Month: July 2024

Hub of Talents for Particle Accelerators Exhibit in MHESIFAIR.

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ทรงเปิดงาน มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ “อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND” จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัตมน์ ปลัดกระทรวง อว. คณะผู้บริหารกระทรวง…

The last day with the Hub of Talents for Particle Accelerators at the MHESIFAIR.

ภาพบรรยากาศวันสุดท้ายกับการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยในวันสุดท้ายนี้ รศ. ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล หัวหน้าศูนย์ฯ ได้ร่วมพิธีรับใบประกาศนียบัตร จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และร่วมกิจกรรม Hub talk ณ เวทีย่อย (mini stage) โซน Science for Future Thailand โดยพูดคุยในหัวข้อเรื่อง “การดำเนินงานและเป้าหมายต่อไปของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค” ร่วมกับ นายวัชนันท์ เรืองกูล ผู้จัดการศูนย์ฯ…

Seminar on “Particle Accelerators and Free Electron/Terahertz Laser Technology in Post-Harvest Applications of Agricultural Products”

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค จัดการอบรม “การใช้เครื่องเร่งอนุภาค และเทคโนโลยีเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระ/เทร่าเฮิรตซ์ ในการประยุกต์ใช้ด้านหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตร” ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ในวันที่ 24 กรกฏาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง MR201 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ การอบรม “การใช้เครื่องเร่งอนุภาค และเทคโนโลยีเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระ/เทร่าเฮิรตซ์ ในการประยุกต์ใช้ด้านหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตร” เป็นการอบรมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญได้แลกเปลี่ยนโจทย์การวิจัยและปัญหาหลังการเก็บเกี่ยวพร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดและเทระเฮิรตซ์ โดยได้รับเกียรติการบรรยายจากวิทยากร 6…

Hub of Talents Exhibition in MHESIFAIR.

ศูนยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานของศูนย์ฯ ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 22 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ อว.แฟร์ SCI POWER FOR FUTURE THAILAND จัดขึ้นโดยกระทรวง อว. ผสานพลังความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆอันจะนําไปสู่การพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต เติมเต็มสาระความรู้ อัปเดตเทคโนโลยีสุดลํ้า ผ่านนิทรรศการและกิจกรรม ด้วยแนวคิดในการจัดนิทรรศการผ่าน “กระบวนการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต หรือ…

Seminar on "Applications of Particle Accelerators and Free-Electron Laser/Terahertz Technology in Post Harvest.

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค จัดการอบรม “การใช้เครื่องเร่งอนุภาค และเทคโนโลยีเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระ/เทร่าเฮิร์ตซ์ ในการประยุกต์ใช้ด้านหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลเกษตร” ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย อย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ในวันที่ 24 กรกฏาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง MR201 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กำหนดการ

Laboratory visit and academic cooperation at Fritz Haber Institute of the Max Planck Society (FHI)

ระหว่างวันที่ 3 – 4 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล หัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม รองหัวหน้าศูนย์ฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุพร สายสุด และ อาจารย์ ดร.มนต์ชัย จิตรวิเศษ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและหารือด้านการวิจัยและการพัฒนากำลังคน ภายใต้พันธกิจของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ณ สถาบันวิจัย Fritz Haber Institute of the Max Planck Society (FHI) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยได้รับการต้อนรับจาก Dr.…

Laboratory visit and academic cooperation at Helmholtz-Zentrum Berlin (HZB)

ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล หัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม รองหัวหน้าศูนย์ฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุพร สายสุด และ อาจารย์ ดร.มนต์ชัย จิตรวิเศษ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานและหารือด้านการวิจัยและการพัฒนากำลังคน ภายใต้พันธกิจของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ณ สถาบันวิจัย Helmholtz-Zentrum Berlin (HZB) ห้องปฏิบัติการ The Berliner Elektronen-Speicherring Gesellschaft für Synchrotronstrahlung (BESSY II) และ Physikalisch-Technische…

Laboratory visit and academic cooperation at Deutsches Elecktronen Synchrotron (DESY)

ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล หัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ริมแจ่ม รองหัวหน้าศูนย์ฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุพร สายสุด และ อาจารย์ ดร.มนต์ชัย จิตรวิเศษ ผู้เชี่ยวชาญฯ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและหารือด้านการวิจัยและการพัฒนากำลังคน ภายใต้พันธกิจของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ณ สถาบันเดซี หรือ Deutsches Elecktronen Synchrotron ที่เมืองซอยเธน (Zeuthen) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยได้เข้าพบ Dr. Juliane Roensch-Schulenburg และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ FLASH (Free…

Origin of Thailand's Particle Accelerator

เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมศร สิงขรัตน์ นับถึงวันนี้เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 80 ปี คาดกันว่า ปัจจุบันมีเครื่องเร่งอนุภาคอยู่มากกว่า 17,000 เครื่องทั่วโลก ใน พ.ศ.นี้ เครื่องที่รู้จักกันมากที่สุดคงเป็นเครื่องเร่งอนุภาค ของศูนย์วิจัยเชิร์น (CERN) ที่เมื่อกลางปี พ.ศ.2555 ได้ถูกใช้ในการค้นพบอนุภาคฮิกส์โบซอน หรือที่บางคนเรียกขานว่า “God particle” ซึ่งทำให้นักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้พยากรณ์สองคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ.2556 ในแง่ของ ประโยชน์เชิงประยุกต์นั้นเครื่องเร่งอนุภาคมีคุณูปการที่สำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของโลกหลายด้านที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด ก็คือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหัวใจของการเกิด Smartphone, Tablet หรือ Phablet ฯลฯ ที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ในส่วนของคนไทยนั้น คำว่า “เครื่องเร่งอนุภาค”…