Hub of Talents organizes a workshop on Photonic technology in agriculture and food.

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค Thailand Center of Excellence in Physics และNational Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) ร่วมจัด การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีเชิงแสงในด้านการเกษตรและอาหาร” ระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ดร. นพดล นันทวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยสเปกโทรสโกปีและเซ็นเซอร์ เนคเทค สวทช. เป็นผู้กล่าวต้อนรับและรายงานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม

อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อธิคม ฤกษบุตร  Chair of IEEE Photonics Society Thailand Chapter ร่วมกล่าวต้อนรับพร้อมแนะนำวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ Prof. Tawfique Hasan จาก University of Cambridge ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และมีผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้กราฟีนและวัสดุที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้บรรยายในหัวข้อ “Miniaturization of Optical Spectrometers”

นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ  ดังนี้

  • การประยุกต์ใช้แสงทางการเกษตร
    โดย ดร.ยุทธนา อินทรวันณี ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค สวทช.
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ ในงานด้านการเกษตรและอาหาร
    โดย ดร.รุ่งโรจน์ จินตเมธาสวัสดิ์ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ เนคเทค สวทช.
  • Plasmonic sensor for agriculture applications
    โดย ดร.มติ ห่อประทุม หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี เนคเทค สวทช.
  • การพัฒนาและแผนการให้บริการ ผู้ใช้งานของระบบสเปกโทรสโกปี ตามเวลาย่านเทราเฮิรตซ์ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    โดย คุณสิริวรรณ ปาเคลือ ห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • การใช้ AI กับผลิตผล หลังการเก็บเกี่ยว
    โดย รศ.ดร.ศิลา กิตติวัชนะ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • การพัฒนาเทคโนโลยีการให้ความร้อน ด้วยคลื่นไมโครเวฟเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร
    โดย รศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ ศูนย์กลางความรู้การให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเนียอินฟราเรดสเปคโตสโกปีทางด้านการเกษตร
    โดย ดร.ปาริชาติ เทียนจุมพล ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการฉายรังสีในอาหารและผลิตผลทางการเกษตร
    โดย คุณจารุรัตน์ เอี่ยมศิริ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

และในวันที่ 14 สิงหาคม ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และปฏิบัติการใช้เครื่องมือทางแสงหลายประเภท โดยกิจกรรมดังกล่าวจะครอบคลุมการฝึกปฏิบัติที่เน้นการใช้งานจริงในภาคการเกษตรและอาหาร อาทิ 

  • Terahertz Time-Domain Spectroscopy
  • Portable Terahertz Imaging Devices
  • Fourier-Transformed Infrared Spectroscopy
  • Portable Raman Spectroscopy
  • Near-Infrared Spectroscopy
  • และ X-Ray CT Scan

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีเชิงแสงในด้านการเกษตรและอาหาร” จัดโดยความร่วมมือ ระหว่าง เนคเทค ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ และ IEEE Photonics Society Thailand Chapter มีผู้สนใจจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนา ร่วมสัมมนาในรูปแบบ Online และ On-site รวมจำนวนกว่า 100 คน 

ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ที่มีความสนใจทางด้านเทคโนโลยีเชิงแสงในงานทางด้านการเกษตรและอาหารได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิด อัปเดตเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงแสงในงานที่เกี่ยวข้อง เกิดOur Cooperation Networkทางการวิจัยพัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

Share