การประชุมหารือและการฝึกอบรมการสร้างเครื่อง AMS Radiocarbon Dating

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล หัวหน้าศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์การดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน ได้เข้าร่วมการประชุมหารือและการฝึกอบรมการสร้างเครื่อง AMS Radiocarbon Dating ณ ห้องประชุมสำนักงานกลาง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านเครื่องเร่งอนุภาคที่เกี่ยวข้อง และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมวิศวกรของโครงการฯ โดยการประชุมดังกล่าวประกอบด้วยการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  1. สัมมนาวิชาการ และการรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การสร้างเครื่อง Accelerator Mass Spectrometer สำหรับการวัดอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี เพื่อการให้บริการงานด้านโบราณคดี
    โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประยูร ส่งสิริฤทธิกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภกร รักใหม่
  2. การบรรยายเรื่อง – Activities at CMU Tandem Accelerator Laboratory
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุดมรัตน์ ทิพวรรณ
  3. สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมวิศวกรของโครงการที่ปฏิบัติงาน ณ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ – หลักการทำงานของอุปกรณ์ในระบบ Injection ของ Tandem Accelerator
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุดมรัตน์ ทิพวรรณ นายโฉม ทองเหลื่อม และนายรุ่งโรจน์ รุ่งรัตน์
  4. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ/ปรึกษาหารือ : ข้อพิจารณาในการใช้งาน cesium sputter ion source, einzel lens, และอุปกรณ์หลักของเครื่อง Tandem Accelerator
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุดมรัตน์ ทิพวรรณ นายโฉม ทองเหลื่อม และนายรุ่งโรจน์ รุ่งรัตน์
  5. การฝึกอบรมการใช้งานและข้อควรระวังเกี่ยวกับ cesium sputter ion source, einzel lens, และอุปกรณ์หลักของเครื่องเรง Tandem ร่วมระหว่างทีมงานของโครงการวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญการเดินเครื่อง และการดูแลรักษาเครื่องเร่ง 1.7 MV Tandem Accelerator
    โดย นายโฉม ทองเหลื่อม และนายรุ่งโรจน์ รุ่งรัตน์

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 6 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วม ดังนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และศูนย์วิจัยฟิสิกส์พลาสมาและลำอนุภาค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แชร์