ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ร่วมกับศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์นิชินะเพื่อวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องเร่งอนุภาค (The Nishina Center for Accelerator-Based Science) ประเทศญี่ปุ่น จัดงาน Seminar on Molecular Dynamics (MD) Simulations
ระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2568 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ร่วมกับศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาค ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์นิชินะเพื่อวิทยาศาสตร์ด้านเครื่องเร่งอนุภาค (The Nishina Center for Accelerator-Based Science) ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมกันจัดงาน Seminar on Molecular Dynamics (MD) Simulations ขึ้น ณ ห้องประชุม CB1220 อาคารเคมี 1 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรามาศ โกมลจินดา รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ เป็นผู้กล่าวเปิดงานสัมมนา
การจัดงานสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้าน Molecular Dynamics Simulations ในด้านวัสดุศาสตร์ ชีววิทยา และพลังงาน ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคด้วยเทคนิค DFT, QM/MM, การศึกษาวัสดุสำหรับแบตเตอรี่ พอลิเมอร์ โปรตีน และสารพันธุกรรม ไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคนิค MD ในงานวิจัยด้าน muon science ซึ่งมีบทบาทสำคัญในงานวิจัยระดับแนวหน้า
การสัมมนานี้ยังเป็นเวทีสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ และเสริมสร้างเครือข่ายวิจัยระดับภูมิภาคอย่างยั่งยืน
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการบรรยายจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อด้านต่างๆ ดังนี้
• Why we need DM for muons โดย Dr. Isao Watanabe (RIKEN, Japan)
• Path integral molecular dynamics of hydrogen in materials โดย Dr. Shiga (JAEA, Japan)
• Efficient and Accurate Molecular Dynamics: The Self-Learning Hybrid Monte Carlo Method โดย Dr. Nagai (The University of Tokyo, Japan)
• MD Simulations for Molecular Assembly Study in Ionic Liquids โดย Assoc. Prof. Piyarat Nimmanpipug (Chiang Mai University, Thailand)
• Lipid-Lipid and Lipid-Protein Interactions: Computational Chemistry and Experimental Results โดย Dr. Peter Greimel (RIKEN, Japan)
• Venturing Through Molecular Dynamics: Transitioning from Organic to Inorganic Systems โดย Dr. Lam Su Datt (UKM, Malaysia)
• MD for protein flexibility study โดย Dr. Doris Quay Huai Xia (UKM, Malaysia)
• Unveiling the Structural and Properties of Polymer/Biopolymer Using DFT and Muon Techniques โดย Dr. Wan Nurfadhilah Binti Zaharim (UKM, Malaysia)
• MD simulation of molecular structures of single-strand DNA oligomers โดย Miss Ruzanna Binti Yahaya (UM, Malaysia)
• DFT+ML on LiCoO2 and NaCoO2 โดย Dr. Redo Ramadhan (UPN, Indonesia)
• Implementation of Machine Learning in MD for Study Battery Materials โดย Dr. Irwan Ramli (UNCP, Indonesia)
• Surface-modified Nanosilica and Nanocellulose for Enhancing Solid Electrolyte Batteries and Thermoelectrics Materials โดย Prof. Dr. Rike Yudianti (BRIN, Indonesia)
• Regeneration of NCM Cathode Active Materials from End-of-Life Lithium-ion Batteries through Organic Acids Leaching โดย Dr. Octia Foweri (BRIN, Indonesia)
กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งในรูปแบบ On-site และ Online ผ่านแพลตฟอร์ม Zoom สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้าน Molecular Dynamics Simulations ในงานวิจัยวัสดุศาสตร์ ชีววิทยา และพลังงาน ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยและต่างประเทศ































